Wednesday, August 10, 2016

12 สิงหานี้ เลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพยังไง.. ใส่ใจคุณแม่

          อีกไม่กี่วันก็ถึงเทศกาลวันแม่อีกแล้วนะคะ  จริงอยู่ว่า...เราทุกคนมักจะทำตัวน่ารักกับคุณแม่ทุกวันอยู่แล้ว  แต่เมื่อถึงวันที่ 12 สิงหาทีไร  เราก็อยากจะแสดงออกอะไรซักอย่าง  เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าเรายังคงรักท่านเหมือนเดิม  และมากขึ้นทุกปีๆ
       และของขวัญที่เรามักจะซื้อไปให้คุณแม่ก็หนีไม่พ้น ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง แต่ว่า..จะเลือกยังไง ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดี และปลอดภัยสำหรับคุณแม่ วันนี้ปิ่นก็มีเคล็ดลับมาฝากกันค่ะ

การเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร ง่ายๆ เลยค่ะ
1.    ต้องเลือกที่มี เลข อย. >> อยากรู้ว่า เลข อย. ที่แปะบนฉลากถูกต้องหรือไม่ ก็เช็คได้เลยจาก Oryor Smart Application ค่า
2.    เลือกผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่หมดอายุ
3.    ถ้าคุณแม่มีภาวะไขมัน น้ำตาล หรือความดันสูง ก็เลือกอาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาลต่ำ ซึ่งเราจะเลือกได้จากการอ่านฉลากโภชนาการ ตามรูปที่ 1 หรือฉลาก GDA ตามรูปที่ 2 (ดูจากร้อยละของปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวัน เลือกเปอร์เซ็นต์ต่ำๆ เข้าไว้..มีชัยไปกว่าครึ่ง)
4.   

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรืออาหารเสริมที่คนทั่วไปมักจะเรียกกันติดปาก ก็อย่าซื้อเพียงเพราะเชื่อโฆษณาที่เค้าบอกนะคะ >> อาหารเสริมไม่ใช่ยา..รักษาโรค หรือลดอาการของโรค..ไม่ได้แน่นอนค่า



รูปที่ 1 แสดงฉลากโภชนาการ



รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างฉลาก GDA

       สำหรับการเลือกเครื่องสำอาง ก็ดูจาก
1.    ฉลากต้องเป็นภาษาไทย
2.    มีเลขที่จดแจ้ง 10 หลัก >> เช็คได้จาก Oryor Smart Application เหมือนกันค่า
3.    ดูเดือนปีที่หมดอายุ กรณีเครื่องสำอางมีอายุการใช้น้อยกว่า 30 เดือน
4.    ซื้อเครื่องสำอางจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน เชื่อถือได้
5.    ดูส่วนประกอบว่ามีสารที่คุณแม่แพ้หรือไม่ ถ้าคุณแม่ไม่เคยแพ้ก็ผ่านไปหนึ่ง เปราะ >> แต่ถ้าคุณแม่เป็นคนที่แพ้ง่าย สามารถทดสอบการแพ้ได้โดยนำเครื่องสำอางไปทาที่ท้องแขนทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง หากไม่เกิดความผิดปกติแล้วจึงค่อยใช้
6.    เครื่องสำอางที่โฆษณาโอ้อวดเกินจริง
7.    เครื่องสำอางไมสามารถลดหรือรักษาอาการทางผิวหนัง เช่น สิว-ฝา -กระ ได้ ถ้ามีการโฆษณาแบบนี้..มักผสมสารห้ามใช้

สำหรับการเช็ค เลข อย. และเลขที่จดแจ้ง 10 หลัก ได้จาก Oryor Smart Application ตามรูปที่ 3 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอพนี้ได้ทั้งทางเพลย์สโตร์ (Play Store) และแอพสโตร์ (App Store) ค่า



รูปที่ 3 แสดงการเช็ค เลข อย. และเลขที่จดแจ้ง 10 หลัก
จาก Oryor Smart Application 


เอกสารอ้างอิง
- Fact sheet อย. “การเลือกซื้อเครื่องสำอาง”
- Fact sheet อย. “สัญลักษณ์ทางโภชนาการแบบจีดีเอ (GDA)”
- Fact sheet อย. “การโฆษณาเครื่อง”
- Infographic อย. “ใช้เครื่องสำอางอย่างเข้าใจปลอดภัยแน่นอน”
- Infographic อย. “รู้ก่อนอ้วน! หวานมันเค็มแค่ไหน? อ่านง่าย...ไกลโรคอ้วน”
- Infographic อย. “สวยอย่างฉลาด แค่อ่านฉลากเครื่องสำอาง”
- Infographic อย. “เรื่องจริงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”
- Infographic อย. “ฉลากโภชนาการ อ่านให้เป็น เห็นประโยชน์”
- แผ่นพับ อย. “เครื่องสำอางที่ใช้ปลอดภัยจริงหรือ”
- เรียนรู้วิธีอ่านฉลากโภชนาการ. [online]. สืบค้นวันที่ 10 สิงหาคม 2559 ที่ URL http://www.thaihealth.or.th/Content/24683-เรียนรู้วิธีอ่านฉลากโภชนาการ’.html
- ดูฉลากข้อมูลโภชนาการ. [online]. สืบค้นวันที่ 10 สิงหาคม 2559 ที่ URL http://www.ezygodiet.com/ดูฉลากข้อมูลโภชนาการ/

No comments:

Google