Thursday, February 11, 2016

[อังกฤษ 21] How to Talk about Driving

เคล็ดลับภาษาอังกฤษที่ปิ่นเอามาฝากวันนี้ คือ Ten Common Driving Verbs
- Brake / Hit the brakes ตัวอย่างประโยค Emma brake!! Emma hit the brakes!! It means Emma stop!! Stop the car!! คือ หยุดรถ
- Run a red light ตัวอย่างประโยค Yesterday, I was driving, I ran a red light, I didn’t hit the brakes. คือ ฝ่าไฟแดง นะคะ
- Cut someone off ตัวอย่างประโยค I cut someone off. คือ ขับรถปาดหน้า ค่า สามารถใช้ในกรณีที่เราจะตัดบทบางคนได้ เช่น I’m sorry. I have to cut you off. แปลว่า ขอโทษนะคะ แต่ฉันจำเป็นต้องตัดบทคุณจริงๆ
- Tailgate ตัวอย่างประโยค That man’s tailgating me. I was tailgated by that man. คือ การขับรถจี้ตูดคันข้างหน้า ประมาณว่าไปขับชิดเค้ามากๆ ค่า
- Pull over คือ การที่เราชะลอ แล้วมาจอดด้านซ้าย ตัวอย่างประโยค Run a red light, Cut someone off. You may pull over by the police. ในกรณีนี้ (ในตัวอย่างนี้) คือ ตำรวจเรียกให้จอดรถ
- Pull out of means you’re going backward or forward out of a small space usually in a parking lot or driveway แปลว่าเลี้ยวออกจากทางที่เรามา หรือเลี้ยวออกไปจากที่จอดรถ
- Accelerate means to go faster คือ เร่งเครื่องนะคะ
- Speed (up) ความหมายเดียวกับ accelerate เช่น I was speeding means I was going too fast. และ speed up ก็ความหมายเดียวกันนะคะ
- Make a u-turn คือ การกลับรถ คำนี้มั่นใจว่าเราใช้บ่อย เพราะส่วนใหญ่จะทับศัพท์เอาคำนี้มาใช้
- Park คือ การจอดรถ


สำนวนที่เอามาฝากคือ All hell broke loose.  So, you're in the situation and you said to somebody then all hell broke loose. It means it was chaos.  คือ ความวุ่นวายโกลาหลก็เกิดขึ้น

และสำหรับคำศัพท์เกี่ยวกับ อย. วันนี้เรามาดูชื่อหน่วยงานกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ นั่นก็คือ MEDICAL DEVICE CONTROL DIVISION


ที่มา : http://youtu.be/zXt5ceU67wg

ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective English Presentation Skill)



ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
(Effective English Presentation Skill)
พาฝัน กิติเงิน
เภสัชกรชำนาญการ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

“Stay Hungry, Stay Foolish”

วลีเด็ดที่ได้จากคลิปที่มีการถูกส่งต่ออย่างมากมายในช่วงเดือนตุลาคม 2554 ในเดือนที่มีการเสียชีวิตของ สตีฟ จ็อบส์ คาดว่าหลายคนคงยังจำได้ดี ซึ่งคลิปนี้เป็นปาฐกถาพิเศษของ สตีฟ จ็อบส์ ในพิธีรับปริญญาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมื่อปี 2548 และเชื่อว่าหลายคนที่ได้มีโอกาสชมคลิปนี้ต่างรู้สึกประทับใจในถ้อยคำที่ สตีฟ จ็อบส์ ได้ถ่ายทอดออกมา

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สตีฟ จ็อบส์ เป็นบุคคลหนึ่งที่สามารถนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ ทุกครั้งที่สตีฟ จ็อบส์ ได้นำเสนอเพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของบริษัท แอปเปิล ต่างสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่รับชมการนำเสนอนั้น และกระตุ้นให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

แต่เบื้องหลังความสำเร็จของการนำเสนอนี้ อาจจะไม่มีใครทราบเลยว่า สตีฟ จ็อบส์ ได้มีการเตรียมการมาล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน

ซึ่งนี่เป็นที่มาว่าหัวใจของการนำเสนอที่ดี คือ การฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน

สำนักงาน ก.พ. ได้จัดอบรมเรื่อง “ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective English Presentation Skill)” โดย Mr. Warren Robert Kerr ซึ่งวิทยากรได้ให้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการนำเสนองานภายในเวลา 1 วัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งในเรื่องของการกล่าวนำก่อนการนำเสนอ โดยต้องบอกให้ผู้ฟังได้ทราบว่า เราชื่ออะไร เป็นใคร จะนำเสนอเรื่องอะไร ใช้เวลาสำหรับการนำเสนอนานเท่าไหร่ จะเปิดโอกาสให้ถามตอนไหน และเรื่องที่นำเสนอแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง

การใช้คำเชื่อม ซึ่งคำเชื่อมนี้ช่วยให้ผู้ฟังสามารถติดตามเรื่องราวที่ผู้พูดนำเสนอได้อย่างดี โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้พูดไม่ใช้ได้อุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ เพราะคำเชื่อมจะช่วยบอกให้ผู้ฟังรู้ว่า ผู้พูดจะกล่าวถึงหัวข้อถัดไป “Let’s move on to the next point.” หรือจะกลับมาพูดถึงเรื่องที่ได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้า “Let me now come back to what I said earlier.” หรือตอนนี้ได้มาถึงส่วนสุดท้ายของการนำเสนอแล้ว “This brings me to the end of my presentation.”

การเตรียมอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ โดยเฉพาะการเตรียมไฟล์นำเสนองาน (Power point) ภาพที่ใช้ประกอบควรเป็นภาพที่สอดคล้องกับเรื่องที่นำเสนอ รวมทั้งเป็นภาพที่มีความคมชัด ข้อความที่ใช้ควรเป็นข้อความสั้นๆ ไม่ให้ข้อมูลบนไฟล์จนมากเกินไป ทั้งนี้อาจจะใส่ลูกเล่นเข้าไปในไฟล์ เช่น effect ต่างๆ เพื่อให้น่าสนใจมากขึ้น

ท่าทางที่เหมาะสมในการนำเสนอ ควรยืนท่าสบาย ไม่ขยับขาไปมา ไม่ยืนกอดอก อาจจะใช้มือเพื่อช่วยแสดงอารมณ์ตอนที่ผู้พูดเน้นความสำคัญในบางประโยค และควรจะสบตากับผู้ฟังทุกคนในห้อง ซึ่งการสบตาดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ฟังตั้งใจฟังมากขึ้น

รวมทั้งเทคนิคเกี่ยวกับการตอบคำถาม โดยที่ผู้พูดจะไม่ตอบคำถามให้ยืดยาวจนเกินไป เพื่อว่าจะได้มีเวลาสำหรับคำถามต่อๆ ไป เพราะหากผู้พูดได้รับฟังหลายๆ คำถาม ก็จะสามารถประเมินความเข้าใจของผู้ฟังโดยรวมได้

และที่สำคัญที่สุด คือ ผู้นำเสนองานต้องระลึกเสมอว่า “ผู้พูดมีหน้าที่ทำให้ผู้ฟังดูฉลาด ดูดี คือ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดนำเสนอ ไม่ใช่ การนำเสนองานให้ผู้ฟังชมว่า ผู้พูดดูดี แต่ผู้ฟังไม่เข้าใจเรื่องที่นำเสนอเลย”

บทความนี้เผยแพร่ที่ :
วารสารข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์ ฉบับประจําเดือน กรกฎาคม – กันยายน 2558 หน้า 3
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/HiPPS/2558/Newsletter/News15.pdf


การบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ (Creative Conflict Management)

"เจี๊ยบตัดหนังยางเราทำไม?" "เจี๊ยบทำยังงี้ทำไม?"

“เจี๊ยบ” เดินไปตัดหนังยาง โดยคิดเพียงว่า
ถ้าตัดแล้วก็จะได้เข้ากลุ่มเด็กชาย
แต่สิ่งที่ “น้อยหน่า” แสดงตอบกลับมา
ทำให้ “เจี๊ยบ” รู้สึกผิดอย่างคาดไม่ถึง

ฉากหนึ่งจากหนังเรื่อง "แฟนฉัน"

หลายคนที่เคยดูหนังเรื่องนี้ คงจะไม่มีใครที่จะลืมฉากนี้ไปได้
เพราะนี่คือฉากที่สะเทือนอารมณ์สุดๆ

นี่คือหนึ่งตัวอย่างของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ความขัดแย้งเกิดได้กับทุกคน เกิดได้ตลอดเวลา
และบางครั้ง...เราก็เป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง
โดยที่เราไม่รู้ตัว

จึงเป็นที่มาให้ กพ. ได้จัดอบรมหลักสูตรดีๆ
เรื่อง...การบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
หรือ Creative Conflict Management

เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง พบว่า...
สาเหตุหลักของความขัดแย้งมาจากการสื่อสาร
และการเปลี่ยนแปลงเป็นความเสี่ยงให้เกิดความขัดแย้ง
เมื่อนึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ของเจี๊ยบและน้อยหน่า
จะเห็นว่า “การตัดหนังยาง” คือวิธีการสื่อสารอย่างหนึ่ง
และ “การเปลี่ยนแปลงของเจี๊ยบที่ต้องการย้ายกลุ่มเพื่อน”
ก็คือความเสี่ยงให้เกิดความขัดแย้ง

อย่างไรก็ตามเราไม่จำเป็นต้องจัดการความขัดแย้งทุกครั้ง
เราจะจัดการความขัดแย้งต่อเมื่อมีคุณค่าพอเท่านั้น
ความขัดแย้งในบางเรื่อง บางครั้งก็ต้องให้คนอื่นจัดการ
เราจะจัดการความขัดแย้ง เมื่อความขัดแย้งไปกระทบกับ...
ผลผลิตขององค์กร บรรยากาศการทำงานร่วมกัน
และประสิทธิภาพของงานส่วนบุคคลลดลง

สำหรับแนวทางการจัดการความขัดแย้ง
เราต้องมีมุมมองที่ถูกต้องก่อนว่า...
ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติธรรมดา เกิดขึ้นเสมอในองค์กร
ความขัดแย้งเป็นเรื่องของการพัฒนาทางความคิด
และส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าขององค์กร
เมื่อมีมุมมองที่ถูกต้องแล้ว
เราจึงค่อยหาแนวทางการจัดการ
ซึ่งแนวทางการจัดการที่ดี ก็คือ
การเปลี่ยนความขัดแย้งจากปัญหา
ให้กลายเป็นพลังสร้างสรรค์
ทำความเข้าใจกับความขัดแย้งนั้นๆ
โดยใช้ทักษะการตั้งคำถาม
ทบทวนไตร่ตรอง หาเหตุผล
และใช้ความขัดแย้งนั้น
เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ร่วมกัน

จริงๆ แล้ว...วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
แบ่งออกเป็น 3 วิธีหลัก คือ
“แพ้-แพ้” “ชนะ-แพ้” และ “ชนะ-ชนะ”

วิธี แพ้-แพ้
ถอยทั้งคู่ ยอมถอยกันคนละข้าง
เจรจาต่อรองเพื่อลดเป้าหมายของแต่ละข้างลงมา
มักใช้กับกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพยากรไม่เพียงพอ
ที่ทั้งสองฝ่าย มีความต้องการเหมือนกัน

วิธีชนะ-แพ้
ตัวอย่างเช่น การใช้พรรคพวก เสียงข้างมาก
การใช้อำนาจในการบังคับบัญชา
ข่มขู่ให้กลัวโดยการสร้างเงื่อนไข
เสนอให้ข้อแลกเปลี่ยน
ส่วนใหญ่มักใช้วิธีนี้เยอะ แต่อาจจะมีปัญหาระยะยาวตามมา

วิธีชนะ-ชนะ
หาวิธีที่ทุกฝ่ายยอมรับได้
ใช้ขั้นตอนของการแก้ปัญหา
ไม่ค่อยมีคนใช้วิธีนี้ เพราะเหนื่อย

การจัดการความขัดแย้งในแต่ละวิธี
ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
เราในฐานะผู้มีหน้าที่จัดการความขัดแย้ง
ต้องเป็นผู้ตัดสินว่าวิธีไหนจะเหมาะสมที่สุด

แต่ภายใต้การตัดสินใจที่ดีควรประกอบด้วย
“ได้ใจ” และ “ได้งาน”
คือ ปัญหาได้รับการแก้ไข และรักษาสัมพันธภาพ

ท้ายที่สุด...
แต่ละคนล้วนแตกต่าง
ความแตกต่างไม่ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
แต่การไม่ยอมรับความแตกต่าง...ต่างหาก
ที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง
เพียงแค่เรายอมรับ...ความขัดแย้งก็จะลดน้อยลง

Monday, February 8, 2016

[Art 6] รูปคน ลงสีน้ำจากภาพร่าง




Ref: https://www.instagram.com/pinsketch/

Google